วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555


หน่วยการเรยนรู้ที่ 10
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
การจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ   สังคม และการเมือง  มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ  ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย
แนวโน้มใน ด้านบวก  
 การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ 
การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง 
 การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้  
การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library) 
การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ  
การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen 
แนวโน้มใน ด้านลบ  
 ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา 
การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ 
การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์  
 ระบบปัญญาประดิษฐ์  
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการตอบสนองกับความต้องการของ มนุษย์ได้ ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ มีความเข้าใจภาษามนุษย์ รับรู้ได้และตอบสนองด้วยการแสดงออกทางพฤติกรรมและภาษามนุษย์  
ปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ 
 ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) 
โครงข่าย ประสาทเทียม (Artificial Neural Network) 
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)  
ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robotics)  
ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) 
          ภาษาธรรมชาติกับการประยุกต์ใช้ภาษาไทยบน คอมพิวเตอร์ เป็นนำวิทยาการด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการประมวลผลภาษา ธรรมชาติมาพัฒนาโปรแกรมประมวลผลภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์เพื่อให้ใช้งานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การประมวลผลตัวอักษร (Character)คำ (Word) ข้อความ (Text) ภาพ (Image) และความรู้ด้านภาษาศาสตร์ (Linguistics)  
โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network) การสร้างคอมพิวเตอร์ที่จำลองเอาวิธีการทำงานของสมองมนุษย์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์รู้จักคิดและจดจำในแนวเดียวกับโครงข่ายประสาทของมนุษย์ เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ฟังภาษามนุษย์ได้เข้าใจ อ่านออก และรู้จำได้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น สมองกล  

เทคโนโลยีการสื่อสาร ทุกที่ ทุกเวลา  

          ยูบิควิตัสเทคโนโลยี (Ubiquitous technology) สังคมยูบิควิตัส (Ubiquitous society) หรือ ยูบิคอมบ์ (Ubicomp) เป็นทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของการสื่อสารใหม่และเป็นแนวโน้มของสังคมสารสนเทศ ยูบิควิตัส เป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่ง หรือ มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มาร์ค ไวเซอร์ (Mark Weiser)แห่งศูนย์วิจัย Palo Alto ของบริษัท Xerox ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยาม "ยูบิควิตัสคอมพิวติง" ไว้ว่า เราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ทุกหนทุกแห่ง-สภาพแวดล้อมที่สามารถใช้ คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใด 
จุดเด่นของยูบิควิตัส ได้แก่  
 การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งาน จะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ 
การ สร้างสภาพการใช้งานโดยผู้ใช้ไม่รู้สึกว่ากำลังใช้คอมพิวเตอร์อยู่  
การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้ง สถานที่ อุปกรณ์ ปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ  
สารสนเทศ กับการศึกษา  
             เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กับการศึกษาได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้รูปการเรียนที่จำกัดด้วยชั้นเรียน ขนาดเล็กกลายเป็นการเรียนด้วยระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา (tele-education) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมมากขึ้นจึงได้ พัฒนาเป็น การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ WBI (Web Based Instruction) หรือWBL (Web Based Learning) และได้มีการพัฒนาปรับปรุงเป็นสื่อการเรียนการสอนแบบ e-Learning (Electronics Learning)
e-Learning คือ การนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การอบรม การ
ทดสอบและประเมินผลผ่านเว็บเพจ  
             Virtual Library Virtual Library หรือห้องสมุดเสมือน เป็นรูปแบบการให้บริการอีกช่องทางหนึ่งของห้องสมุดในปัจจุบัน โดยให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดเสมือน ได้ ข้อมูลที่ให้บริการจะอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล ทำให้เปิดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถเข้าสู่ข้อมูลที่ให้บริการได้จากทุกแห่ง  
บริการของ Virtual Library ได้แก่ บริการสืบค้นข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Catalog-OPAC) บริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการแนะนำสารสนเทศที่น่าสนใจ  
นาโนเทคโนโลยี อาณาจักรจิ๋ว นวัตกรรมแห่งอนาคต  
              นาโทเทคโนโลยี กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งกับชีวิตประจำวันของเราและเป็นที่กล่าวขานกัน อย่างมากในขณะนี้ คำว่า "นาโน (nano)" แปลว่า ในพันล้านส่วน เช่น นาโนวินาที เท่ากับ 10ยกกำลัง-9หรือ 0.000000001วินาที นาโนเมตร เท่ากับ 1/1,000,000,000 เมตร หรือ 0.000000001 เมตร  
นาโนเทคโนโลยี คือ การทำให้โครงสร้างพื้นฐานของโมเลกุลขนาดระดับ ถึง 100 นาโนเมตร กลายเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์นาโนที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้สอยได้ ซึ่งต้องอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ของระบบที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอะตอม โมเลกุล กับวัตถุขนาดใหญ่ และสามารถควบคุมคุณสมบัติทั้งหลายได้  
  ตัวอย่างของความก้าวหน้าด้านนาโนเทคโนโลยี 
วัสดุ ฉลาด (Smart materials) 
ตัวรับรู้ หรือเซ็นเซอร์ (Sensors) 
โครงสร้างชีวภาพขนาดนาโน (Nanoscale Biostructures) 
คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม  
คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ 
 รัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์
           รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่อข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐ ปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน บริการข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนได้รับการบริการจากภาครัฐที่ดีขึ้น มีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น อีกทั้งทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ดีขึ้นด้วย  
ที่มารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของไทย โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการโดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในระยะ ปี ดังนี้  
1.การให้บริการต่อสาธารณะ โดยจะผลักดันเพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ  
การ ให้บริการข้อมูลที่ดี มีมาตรฐาน และคุณภาพแก่สาธารณะ อันได้แก่ ประชาชน ภาคธุรกิจ และ ภาครัฐ 
การให้ บริการที่ดีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น ท. คือ ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา  
 2.การบริหารจัดการของรัฐ 
 การ บริหารจัดการด้านการเงินระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ 
การจัดซื้อจัดจ้างผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่รวด เร็ว โปร่งใส ยุติธรรม  
การ บริหารข้อมูลและทรัพยากรภาครัฐ  
 3.การติดต่อสื่อสาร และประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ 
 ภายในและระหว่าง กระทรวง 
ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรส่วนท้องถิ่น  
 ตัวอย่างของรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 
             การติดตามแกะรอยคนร้าย ปัจจุบันมี ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ คือ (1) ระบบฐานข้อมูลประวัติอาชญากร หรือ CDOS (Criminals Database Operating System) (2) ระบบตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ หรือ AFIS (Automated Fingerprint Identification System) และ (3) ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบภาพใบหน้าคนร้าย หรือ PICASSO (police Identikit: Computer Assisted Suspect Sketching Outfit) 
 ระบบสารสนเทศสำหรับงานประปา บริการเบ็ดเสร็จภายในคราวเดียว คือ จดมาตรจำนวนการใช้น้ำ พิมพ์ใบแจ้งหนี้ และส่งให้ลูกค้าได้ทันที โดยใช้เวลาทั้งสิ้นไม่เกิน 10 นาที ผู้ใช้บริการสามารถนำใบแจ้งหนี้ไปชำระเงินที่สาขาของการประปานครหลวง หรือที่ทำการไปรษณีย์ หรือที่ Counter Service หรือชำระผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต  
การยื่นแบบแสดงและชำระภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ต เข้าสู่ระบบได้ที่ www.rd.go.th มีบริการ แบบ คือ 1.การบริการแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมโปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้ และ 2. การยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต  
จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การประมูลแบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เว็บไวต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ คือ www.gprocurement.go.th หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดประมูล  
ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะผ่านอิน เทอร์เน็ต บริการด้านงานทะเบียนราษฎรผ่านทางอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ www.dopa.go.th  และ www.khonthai.com ของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง  
 เทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารแบบใหม่
               ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารแบบใหม่ (ICT) จะยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อินเตอร์เนตจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยปฏิวัติวิธีที่จะสื่อสารความรู้ ผ่านอีเมลล์ สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ สื่อสารได้ในอาณาบริเวณที่กว้างขึ้น วารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเผยแพร่ได้ในทุกมุมของโลก จนทำให้ความรู้กลายเป็นทรัพยากรที่เคลื่อนที่ได้ผ่านระบบอินเตอร์เนต และไม่ได้ติดอยู่กับสถานศึกษาและท้องถิ่นอีกต่อไป ทำให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาทำงาน ประสานงาน แลกเปลี่ยนความรู้ กิจกรรม ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ในประเด็นเฉพาะต่างๆ มากยิ่งขึ้น ความเข้มข้นของเนื้อหาสาระแต่ละประเด็นจะถูกตีความจากความร่วมมือของเครือข่าย และก่อให้เกิดสถาบันในท้องถิ่นต่างๆ ที่จะทำงานเป็นเครือข่ายมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการเหล่านี้ ต้องการทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ การช่วยเหลือด้านเทคนิค การฝึกอบรม และการอัพเกรดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ว่าแนวโน้มราคาในการเข้าถึงจะต่ำลงเรื่อยๆ แต่ในปัจจุบัน ก็ยังมีราคาในภาพรวมสูง ซึ่งจะส่งผลต่อบางประเทศและสถาบันการศึกษาที่ขาดความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี เช่น อินเตอร์เนตพื้นฐาน ความเร็วอินเตอร์เนต ก็จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันน้อยลง ในทางกลับกัน ประเทศที่มีปัจจัยด้านเทคโนโลยี ICT ที่เอื้อก็จะช่วยยกระดับความสามารถการแข่งขันมากขึ้นด้วย
การก่อตัวของเครือข่ายความรู้ระดับนานาชาติ
           จากกระแสความเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าทาง ICT ทำให้การตอบสนองจากความต้องการของตลาดโลกหลังยุคอุตสาหกรรม เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางของอุตสาหกรรมการบริการและเศรษฐกิจฐานความรู้ ภาครัฐในหลายประเทศจึงให้ความสำคัญในเรื่องของการลงทุนด้านการศึกษา ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการด้านการศึกษา พร้อมทั้งปรับนโยบายเรื่องวีซ่า หลักเกณท์เข้าประเทศที่จะช่วยชักจูงนักศึกษาเข้าสู่สถาบันและประเทศ ซึ่งประเทศก็ได้ประโยชน์จากการเข้ามาของนักศึกษา ทำให้นักศึกษา ผู้ปกครองกลายสภาพเป็นลูกค้า เกิดการแข่งขันของสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยที่สูงขึ้น แต่ละสถาบันจึงต้องพยายามสร้างความเป็นนานาชาติให้กับมหาวิทยาลัยและสถาบัน โดยการสร้างโครงการพิเศษและหลักสูตรต่างๆ เพื่อตอบสนองการต้องการ ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากแนวโน้มของการเคลื่อนที่ของนักศึกษา โดยปัจจุบันมีนักศึกษามากกว่า 2.5 ล้านคนที่กำลังเรียนอยู่นอกประเทศบ้านเกิดและคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นถึง ล้านคนในปี 2020 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจากเอเชียที่เข้าสู่มหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำของอเมริกาเหนือ ยุโรป และ ออสเตเรียที่มีชื่อเสียง
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยและสถาบันเหล่านี้ พยายามที่จะสร้างเครือข่าย แฟรนไชส์ และความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ของโลกเพื่อยกระดับมาตรฐานของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ต้องการของท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ผ่านรับรองการศึกษาและวุฒิปริญญา ทำให้เกิดหลักสูตรใหม่ๆ ในท้องถิ่น และนำมาชึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทั้งความรู้และบุคลากรทางการศึกษาอย่าง อาจารย์ที่เดินทางอย่างเสรีมากขึ้น หรือทำผ่านเครือข่ายและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ซึ่งในเรื่องเครือข่ายความรู้ก็ไม่ได้จำกัดวงอยู่ในภาคการศึกษาเท่านั้น ความร่วมมือด้านวิชาการก็เริ่มเกิดจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรมธุรกิจที่เข้ามามีบทบาทในการสร้างแรงงานที่มีทักษะตามที่ต้องการ เช่น กรณีที่ภาคธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างความร่วมมือในการผลิตบัณทิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีมากขึ้น และตรงความต้องการ เพราะสัดส่วนของผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัยด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความต้องการมากขึ้นในตลาดโลก เพราะมีผลทางตรงกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ในหลายพื้นที่ขาดนักศึกษาด้านนี้ (เช่น จีนมีนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 37 %เกาหลี 39 % สิงคโปร์ 31 อินโด 26 ญี่ปุ่น 23 % ส่วนไทย 19 %)
แต่อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านของความร่วมมือระดับโลกนั้น ภายในแต่ละภูมิภาคก็พยายามที่จะสร้างบทบาทนำด้านการศึกษา ตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ กาตาร์ สิงค์โปร์ และสหรัฐอาหรับเอมมิเรตท์ ภาครัฐและมหาวิทยาลัยมีนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจนในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค (Hubs) ด้านการศึกษา